ไรขี้เรื้อนเปียก หรือโรคขี้เรื้อนขุมขนสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงแทบทุกประเภทโดยเฉพาะลูกสุนัขที่มักจะได้รับเชื้อจากแม่สุนัขในช่วงหลังคลอด โดยจะไม่มีส่งต่อเชื่อไปยังสุนัขตัวอื่นได้ถึงแม้จะมีอายุที่มากขึ้น ซึ่งต่างจากโรคขี้เรื้อนแห้งที่สามารถติดต่อได้หากสัตว์อยู่ใกล้ชิดกัน
สาเหตุการเกิด ไรขี้เรื้อนเปียก
สาเหตุที่เกิดโรคก็คือสุนัขที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ หรือมีโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ โดยอาการที่พบได้ก็คือ ขนร่วง ผิวหนังอีกแสบแดง ในบางรายอาจจะมีสะเก็ดรังแค มีคราบน้ำเหลืองตามผิวหนัง หากมีอาการอักเสบที่รุนแรง หรือมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่ม ก็จะทำให้สุนัขคันเกาไม่หยุด
ไรขี้เรื้อนเปียก แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
- แบบเฉพาะที่ – โรคขี้เรื้อนเปียกแบบเฉพาะที่จะเกิดขึ้นในบางตำแหน่งของร่างกายอาจจะมีขนร่วงเป็นหย่อม ๆ มีอาการอักเสบไม่รุนแรงมากนัก ส่วนใหญ่มักจะเกิดบริเวณรอบดวงตา ปาก ศีรษะ ขาหลัง และลำตัว โดยส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เอง แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถกลายเป็นแบบกระจายทั่วตัวได้
- แบบกระจายทั่วตัว – เป็นชนิดที่มีความรุนแรงมากกว่าแบบแรก โดยโรคจะมีการกระจายเป็นวงกว้าง เกิดขึ้นในหลายตำแหน่ง สามารถเกิดขึ้นได้บริเวณเท้าของสัตว์ได้อีกด้วย
การวินิจฉัย ไรขี้เรื้อนเปียก
สัตวแพทย์จะใช้วิธีขูดตรวจผิวหนังชั้นลึกเพราะเชื้อจะอาศัยอยู่ในรูขุมขนใต้ผิวหนัง แต่หากบริเวณที่ติดเชื้อยากต่อการขูด เช่น บริเวณรอบดวงตาอาจใช้วิธีดึงขนเพื่อมาส่องตรวจทางกล้อง หากการวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคขี้เรื้อนเปียก ก็จะได้รับการตรวจหาโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เช่น ภาวะไทรอยด์ต่ำ โรคตับแบบเรื้อรัง เป็นต้น
การรักษา ไรขี้เรื้อนเปียก
การรักษาจะเป็นการให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนัง เช่น ยาปฏิชีวนะ รวมไปถึงแชมพูที่มีส่วนผสมของยาที่ออกฤทธิ์ทำความสะอาดลึกถึงรูขุมขน รวมไปถึงการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น ยาที่ใช้รักษาก็มีทั้งแบบทา แบบกิน แบบหยด ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสัตวแพทย์ว่าจะใช้ยาแบบไหนโดยจะพิจารณาจากอาการ และความรุนแรงของโรค
ถึงแม้ ไรขี้เรื้อนเปียก แบบเฉพาะที่จะสามารถหายเองได้ แต่หากเกิดก็ไม่ควรปล่อยเอาไว้ควรรีบทำการรักษาเพราะอาจจะลุกลามกระจายทั่วตัวได้จนอาการรุนแรงได้ ดังนั้นหากใครเลี้ยงสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ก็ควรหมั่นสังเกตอาการเป็นประจำเพื่อที่สุนัขจะได้มีสุขภาพที่ดี และมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น