ส่วนใหญ่เราจะรู้จักวิตามินต่างๆที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยสามารถหารับประทานในอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ร่างกายยังต้องการแร่ธาตุต่างๆอีกด้วย “ฟอสฟอรัส” สามารถพบในทุกเซลล์ของร่างกาย จึงเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการและมีความจำเป็น แล้วเราควรได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณเท่าไหร่ และหาได้จากที่ไหนได้บ้าง เรามีคำตอบคะ
หน้าที่ของฟอสฟอรัสคืออะไร
ช่วยสร้างและบำรุงรักษากระดูกและฟัน มีบทบาทในการสร้างDNAและRNAหน่วยพันธุกรรมของร่างกาย มีบทบาทในการเผาผลาญพลังงานเปลี่ยนแคลอรี่และออกซิเจนเป็นพลังงาน ช่วยเรื่องการหดตัวของกล้ามเนื้อและการเต้นของหัวใจ และการส่งสัญญาณของระบบประสาท ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถผลิตสารได้เองเราจะได้จากอาหาร
อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง รับประทานแค่ไหนถึงพอดี?
รับประทานในปริมาณตามช่วงอายุดังต่อไปนี้
- ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน ให้รับประทานจากนมแม่
- ทารกในช่วงอายุ 6–11 เดือน ให้รับประทานในปริมาณ 275 มิลลิกรัม/วัน
- เด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 1–8 ปี ให้รับประทานในปริมาณ 460–500 มิลลิกรัม/วัน
- เด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 9–18 ปี ให้รับประทานในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน
- ผู้ที่ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ให้รับประทานในปริมาณ 700 มิลลิกรัม/วัน
อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงมีอะไรบ้าง?
1.อาหารทะเล
อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยลาย ปลาแซลมอน และปู ถือเป็นแหล่งของฟอสฟอรัสที่ดี ในปริมาณ 100 กรัมเท่ากัน หอยลายจะให้ฟอสฟอรัสอยู่ที่ประมาณ 198 มิลลิกรัม ปลาแซลมอนอยู่ที่ประมาณ 261 มิลลิกรัม และปูจะอยู่ที่ประมาณ 232 มิลลิกรัม
2.นมและผลิตภัณฑ์จากนม
ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต เช่น นม 1 แก้ว (ประมาณ 244 มิลลิลิตร) จะให้ฟอสฟอรัสประมาณ 246 มิลลิกรัม โยเกิร์ต 1 ถ้วย (ประมาณ 245 กรัม) จะให้ฟอสฟอรัสประมาณ 252 มิลลิกรัม และชีส 1 แผ่น (ประมาณ 21 กรัม) จะให้ฟอสฟอรัสประมาณ 161 มิลลิกรัม
3.เนื้อหมูและไก่
เนื้อหมูและไก่ถือเป็นวัตถุดิบที่พบได้ในอาหารหลายเมนู โดยในปริมาณ 100 กรัมเท่ากัน เนื้อหมูจะให้ฟอสฟอรัสประมาณ 175 มิลลิกรัม ส่วนเนื้อไก่จะอยู่ที่ประมาณ 178 มิลลิกรัม แต่ปริมาณอาจลดลงไปบ้างเมื่อนำไปประกอบอาหาร โดยเฉพาะการต้ม
4.ไข่
ไข่ไก่ ไข่เป็น เป็นวัตถุดิบที่มีติดครัวตลอดเวลา โดยไข่ขนาดใหญ่ 1 ฟองจะให้ฟอสฟอรัสอยู่ที่ประมาณ 92.6 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย ซึ่งเราสามารถได้รับจากสารอาหารที่เรารับประทานในแต่ละวัน แต่การรับประทานอาหารที่หลากหลายก็เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานในรูปแบบอาหาร การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีฟอสฟอรัสก็อาจช่วยได้เช่นกัน แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือกำลังใช้ยาบางชนิดอยู่ เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกาย